ออกภาคสนามสำรวจการพิบัติของลาดดิน
บริเวณ จ.เชียงใหม่ และ จ.แม่ฮ่องสอน |
|
บทนำ |
เมื่อประมาณปลายปี
2545 ได้เกิดฝนตกหนักและเกิดแผ่นดินถล่มที่ทางตอนเหนือของประเทศไทย
ทั้งที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่และอำเภอแม่สะเรียง
จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดังนั้นคณะผู้วิจัยได้เดินทางไปศึกษาสภาพพื้นที่หลังเกิดแผ่นดินถล่ม
และศึกษาระบบการจัดการ เนื่องจากพื้นที่นี้มีการเตือนภัยที่ดี
ทำให้ไม่มีผู้เสียชีวิต |
|
วัตถุประสงค์ของการศึกษา |
วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ต้องการใช้พื้นที่แม่แจ่มและแม่สะเรียงเป็นกรณีตัวอย่างในการศึกษาด้านต่างๆ
เช่น การเตรียมการป้องกันและแก้ไขในกรณีเกิดแผ่นดินถล่ม
ทั้งด้านระบบการเตือนภัย, การให้ความช่วยเหลือกับประชาชนที่ประสบภัย
และการฟื้นฟูสภาพพื้น
สอบถามและรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะด้านการจัดการภัยจากแผ่นดินถล่ม
จากผู้มีประสบการณ์ จากชาวบ้านที่ประสบภัยรวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
เพื่อนำมาจัดทำข้อสรุปที่สมบูรณ์และนำไปสู่การปฏิบัติ |
|
ขอบเขตงานวิจัย |
เพื่อให้การศึกษาบรรลุเป้าหมายได้สมบูรณ์ภายในกรอบของเวลาที่กำหนดจึงได้มีขอบเขตการศึกษาดังนี้
1. ครอบคลุมลักษณะของภัยธรรมชาติดินถล่มที่เกี่ยวข้องกับฝนตกหนักและน้ำหลาก
เท่านั้น ไม่รวมถึงการพิบัติของลาดดินลักษณะอื่นๆ เช่น ลาดตลิ่งแม่น้ำ
งานขุด งานคันดิน งานเขื่อนหรืออื่นๆที่มนุษย์ทำขึ้น ลาดดินพิบัติจากแผ่นดินไหว
เป็นต้น
2. พื้นที่และข้อมูลที่ศึกษาจะจำกัดอยู่เฉพาะส่วนที่มีเอกสารที่เผยแพร่ต่อสาธารณะหรือได้รับความยินยอมจากหน่วยงานที่เป็นเจ้าของผลงาน
3. การศึกษาวิจัยนี้ไม่ได้ทำการศึกษาลงลึกในรายละเอียดทางด้านวิศวกรรม
หรือ การออกแบบทางด้านวิศวกรรม (ไม่รวมถึงการสร้างแผนที่เสี่ยงภัยโดยแบบจำลองคณิตศาสตร์ซึ่งต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่าย)
4. ผลสรุปของการศึกษาจะเป็นผลสรุปที่ได้จากการสอบถามชาวบ้านผู้ประสบภัย
ผู้บริหารระดับท้องถิ่น และนำข้อมูลที่ได้มาหาข้อสรุปต่อไป |
|
วิธีการศึกษา |
วิธีการศึกษาจะเป็นการรวบรวมสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เกิดการพิบัติ
แนวทางการจัดการภัยธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินถล่ม
จะได้มาจากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในจุดศึกษาต่างๆ โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งระดับผู้บริหารท้องถิ่น เช่น กำนัน นายอำเภอ และชาวบ้านผู้ประสบภัย
แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการสังเคราะห์และสรุปผล โดยมีรายละเอียดของพื้นที่ที่ได้ทำการศึกษาดังนี้
1. พื้นที่ดูงาน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
- ฟังการบรรยายสรุปจากปลัดวีระพงศ์ รัตนศรี
ปลัดอำเภอแม่แจ่ม เพื่อรับทราบปัญหา สาเหตุและแนวทางการแก้ไข
- ดูสถานที่ที่เกิดการพิบัติบริเวณ บ้านยางหลวง
หมู่ที่ 6 ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัด เชียงใหม่
- สอบถามข้อมูลขณะเกิดเหตุกับชาวบ้าน
2. พื้นที่ดูงาน อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ฟังการบรรยายสรุปจากแม่ฮ่องสอน โดยมีว่าที่
ร.อ.ยุทธนา เจ้าดูรี ปลัดศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เพื่อรับทราบปัญหา สาเหตุและแนวทางการแก้ไข
- ดูสถานที่ที่เกิดการพิบัติบริเวณ หมู่บ้านผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบอำเภอแม่สะเรียง
จังหวัดแมฮ่อนสอน่
- สอบถามข้อมูลขณะเกิดเหตุกับชาวบ้าน
(ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยง) |
|
ผลการศึกษา |
# การพิบัติบริเวณบ้านยางหลวง หมู่ที่ 6 ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่  |
# การพิบัติบริเวณ ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน  |